วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การอบรมหลักสูตรผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตย รุ่นที่4











มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทยโครงการ การจัดอบรมผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตย (ระยะสั้น) รุ่นที่ 4
1. หลักการและเหตุผลด้วยมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ดำเนินการ ตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และดำเนินกิจการสาธารณประโยชน์ และสาธารณกุศล รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันนโยบายภาครัฐโดยมูลนิธิฯ จะศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลอย่างรอบด้านอย่างองค์รวมเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งทางด้านโครงการตามพระราชดำริ การเศรษฐกิจ การเกษตร การสาธารณสุข การบรรเทาสาธารณภัย การพลังงาน การศึกษา กฎหมาย สังคม เครือข่ายชุมชน ฯลฯ นำมาบูรณาการสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผล สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวมูลนิธิฯ จึงได้จัดทำโครงการจัดอบรมผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตย ระยะสั้น (30 ชั่วโมง) รุ่นที่ 4 เพื่อผู้ที่จบจากการอบรม จะได้เป็นผู้นำในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในแง่วิถีแห่งความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งการแนะนำให้ประชาชนได้เข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นสาธารณะทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเมือง การปกครอง ฯลฯ อย่างกว้างขวางรอบด้าน อันจะนำมาซึ่งความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อส่งเสริมการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข2.2 เพื่อสร้างผู้นำในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ความรู้ได้อย่างองค์รวมทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ฯลฯ สู่กลุ่มบุคคลและสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิผล 2.3 เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติ
3. เป้าหมาย 1. จำนวน 10 รุ่น ๆ ละ 80 คน 2. ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิผล
4. ระยะเวลาดำเนินการ เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม 2552 และ มกราคม - พฤษภาคม 2553 ตารางการดำเนินงาน ( ตามตารางปฏิทิน )
5. วิธีดำเนินการ 5.1 ขั้นเตรียมการ 1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในแต่ละภาคส่วน ตามลำดับ 2. จัดเตรียม บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ 3. ประสานงานกับส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง 4. ประชาสัมพันธ์โครงการสู่กลุ่มเป้าหมาย 5.2 ขั้นดำเนินการ 1. กำหนดวันรับสมัคร และรับสมัคร 2. คัดเลือก และเข้ารับอบรม 5.3 ขั้นประเมินผล 1. เก็บและรวบรวมข้อมูล 2. สร้างตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ 3. นำผลที่ได้เข้าสู่กระบวนการวัดในเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ นำผลที่ได้ บูรณาการ จุดอ่อน แก้ไข ปรับปรุง จุดแข็งต่อยอดพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การบริหารบุคลากร จัดแบ่งเป็น 3 ทีมงาน ดังนี้- ฝ่ายวางแผน- ฝ่ายดำเนินการ- ฝ่ายประชาสัมพันธ์
6. งบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละรุ่น 6.1 งบประมาณจากมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย ผู้เข้ารับการอบรม และผู้บริจาค 6.2 งบประมาณจากผู้เข้ารับการอบรม 80 ท่านๆ ละ 1,000 บาท รวม 80,000 บาท แบ่งเป็นประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ค่าตอบแทน และอื่นๆ1. วิทยากร 8 ท่าน ๆ ละ 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 40,000 บาท2. เจ้าหน้าที่ 2 ท่าน ๆ ละ 350 บาท 5วัน รวมเป็นเงิน 3,500 บาท3. พนักงาน 6 ท่าน ๆ ละ 150 บาท 5 วัน รวมเป็นเงิน 4,500 บาท4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ กระเป๋า 100 ใบ ๆละ 75 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท เครื่องเขียน รวมเป็นเงิน 1,000 บาทซองใส่บัตร รวมเป็นเงิน 500 บาทสำเนาเข้าเล่มตำราเรียน 100 เล่ม ๆ ละ 150 หน้า ราคาเล่มละ 120 บาท รวมเป็นเงิน 12,000 บาท5. ค่าอาหาร และเครื่องดื่ม รวมเป็นเงิน 40,000 บาท6. ค่าโฆษณา และประชาสัมพันธ์ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
7. สำรองจ่ายอื่นๆ รวมเป็นเงิน 5,000 บาทรวมทั้งสิ้น 116,500 บาท(ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายจากการศึกษาดูงาน)*** การใช้จ่ายงบประมาณให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ เป็นครั้งๆตามเหตุผล และความจำเป็น ***7. หน่วยงานที่รับผิดชอบและสถานที่ดำเนินการมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย
8. ผลที่คาดว่าจำได้รับ 8.1 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงสิทธิและหน้าที่ในการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 8.2 ได้ผู้นำในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ความรู้ได้อย่างองค์รวมทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ฯลฯ อย่างมีประสิทธิผล 8.3 การดำเนินการกิจกรรมของมูลนิธิฯ สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติ
9. ประธานโครงการนายพศ อดิเรกสาร
10. ผู้เสนอโครงการ และผู้อำนวยการหลักสูตรนายไพรพนา ศรีเสน ผู้ให้ความเห็นชอบโครงการ( นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล )เลขาธิการมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทยผู้อนุมัติโครงการ( นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ )ประธานมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทยหลักสูตรการจัดอบรมผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตย (ระยะสั้น) รุ่นที่ 4โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตรเพื่อให้การอบรมผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นไปตามจุดหมาย จึงกำหนดโครงสร้างหลักสูตรดังนี้หมวด 1 ลัทธิการเมือง / ลัทธิการเมืองเปรียบเทียบ๑. ระบบราชาธิปไตย๒. ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช๓. ระบบคณาธิปไตย ๔. ระบบเผด็จการทหาร๕. ระบบอมาตยาธิปไตย๖. ระบบประชาธิปไตยหมวด 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย- รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย- รัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ ( 40 / 50 )หมวด 3 การเมืองการปกครองของไทย- การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข- ประชาธิปไตยในกระแสโลกาภิวัฒน์ / การเมืองไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน- สังคมประชาธิปไตย- ประชาธิปไตยกับการเลือกตั้ง- ประชาธิปไตยกับความมั่นคงของชาติ- กระบวนการยุติธรรมของไทยหมวด 4 ภาวะผู้นำกับการพัฒนาประชาธิปไตย- ภาวะผู้นำกับการมีส่วนร่วมของประชาชน- การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ- การเปลี่ยนผ่านของสังคมโลกต่อระบอบประชาธิปไตย- กระบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย / กระบวนการทำลายประชาธิปไตย- ภาวะเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลกหมวด 5 กิจกรรม- การศึกษาดูงาน – นอกสถานที่- แนวทางการจัดตั้งเครือข่ายประสานงาน –ขยายมวลชนระยะเวลาการศึกษา- เป็นหลักสูตรการอบรมระยะสั้น 30 ชั่วโมง เรียนเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ วันละ 8 ชั่วโมง รวม 4 วันวันเริ่มหลักสูตร วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 วันสิ้นสุดหลักสูตร วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553( เรียนวันเสาร์ - วันอาทิตย์ที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 และ วันเสาร์-วันอาทิตย์ที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลาเรียน 09.00 น. - 18.00 น.)สถานที่ใช้อบรมมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทยคุณวุฒิที่ได้รับเมื่อจบการอบรมวุฒิบัตรหลักสูตรวิชาการ โดยมีคณาจารย์ ดังนี้1. อาจารย์พงศ์เทพ เทพกาญจนา2. อาจารย์วิชิต ปลั่งศรีสกุล3. อาจารย์ปรีชา ธนานันท์ 4. อาจารย์พศ อดิเรกสาร 5. อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน6. อาจารย์นายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์7. อาจารย์คณิน บุญสุวรรณ 8. อาจารย์ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ9. อาจารย์นายแพทย์เหวง โตจิราการ 10. อาจารย์วิบูลย์ แช่มชื่น11. อาจารย์พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ 12. อาจารย์พิทยา พุกกะมาน13. อาจารย์สอาด จันทร์ดี14. อาจารย์สุชา จุลเพชร 15. อาจารย์โอภาส ภาสบุตร 16. พระอาจารย์สุรศักดิ์ มหาบุญโญ 17. อาจารย์กิตติศักดิ์ โลจนสิริศิลป18. วิทยากรท่านอื่นๆการทัศนศึกษานอกสถานที่จะแจ้งให้ทราบในวันที่เข้ารับการอบรมคุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์3. ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพและมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง4. เป็นผู้มีความเสียสละ อดทน และเลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจำนวนของผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 80 คนการคัดเลือก พิจารณาจากประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัครคณะกรรมการคัดเลือก1. นายปรีชา ธนานันท์ ประธานกรรมการ2. นายพศ อดิเรกสาร รองประธาน3. ดร.สุภาพ ทองรัตน์ กรรมการ4. นายไพรพนา ศรีเสน เลขานุการค่าใช้จ่ายในการสมัครอบรมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 1,000 บาท (ชำระพร้อมใบสมัคร)แบ่งเป็น 1.ค่าอาหารกลางวัน 5 มื้อ2.อาหารว่าง,ผลไม้ 10 มื้อ3.วัสดุอุปกรณ์ 3.1.กระเป๋า 3.2.เครื่องเขียน 3.3.ซองใส่บัตรประจำตัว 3.4.สำเนาเข้าเล่มตำราเรียนตามความเหมาะสม( ไม่รวมค่าทัศนศึกษานอกสถานที่ )